• ประวัติ โรงเรียนวัดเย้ยปราสาท
  • ประวัติโรงเรียนวัดเย้ยปราสาท  โดยสังเขป

                    โรงเรียนวัดเย้ยปราสาท  ตั้งขึ้นเมื่อวันที่  1  กันยายน  2481  โดยนายอำเภอนางรองเป็นผู้จัดตั้งขึ้น  ใช้ศาลาการเปรียญวัดเย้ยปราสาทเป็นสถานที่เรียน  และเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่  1 – 4  ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ  นักเรียนที่เข้ามาเรียนในโรงเรียนแห่งนี้  ได้แก่  บ้านเย้ยปราสาท  บ้านหนองตาดำ  บ้านขามน้อย  และบ้านหนองกราด  ต่อมาคุณพ่อกำนันดี  อุดมแก้ว  และคุณพ่อธรรมา  ดำดี  ได้บริจาคที่ดินเพื่อปลูกสร้างโรงเรียนหลังใหม่  และชาวบ้านเย้ยปราสาทได้ช่วยกันจัดหาวัสดุเพื่อปลูกสร้างอาคารเรียนแบบถาวรขึ้น  การจัดหาได้รับความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนด้วยดีแต่ก็ใช้เวลาพอสมควร  เนื่องจากประชาชนมีฐานะยากจน  มีรายได้น้อย  จนถึงปี  พ.ศ.  2510  จึงได้ทำการปลูกสร้างยกเสาทำโครงหลังคา  ตามแบบ  004  ขนาด  10  ห้องเรียน  และต่อมาได้รับการจัดสรรงบประมาณ  150,000  บาท  ( หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน )  ได้สร้างจนสำเร็จเรียบร้อยเป็นอาคารเรียนเอกเทศถาวร

                    โรงเรียนวัดเย้ยปราสาท  มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ  12  ไร่  ตั้งอยู่บนถนนหนองกี่ – ลำปลายมาศ  และอยู่ตรงข้ามกับวัดเย้ยปราสาท  มีอาณาเขตติดต่อ  ดังนี้

                    ทิศเหนือ  จดถนนหนองกี่ – ลำปลายมาศ  ยาวในแนวตะวันออก – ตะวันตก  ประมาณ  4  เส้น 

    ( 160  เมตร )

    ทิศใต้  จดที่นาของนายเมือง  อุดมแก้ว  และนายธรรมา  ดำดี   มีระยะทางใกล้เคียงกับทิศเหนือ

    ทิศตะวันออก  จดสวนนายเมือง  อุดมแก้ว  ยาวในแนวเหนือ – ใต้  ประมาณ  3  เส้น  ( 120  เมตร )

    ทิศตะวันตก  จดสวนนายธรรมา  ดำดี  มีระยะทางใกล้เคียงกับทิศตะวันออก

    ข้อมูลทั่วไปในโรงเรียน

    1.  ปรัชญาโรงเรียน  นตฺ  ปญฺญา  ษมา  อาภา  ( แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี )
    2. คำขวัญโรงเรียน  เรียนดี  กีฬาเด่น  เน้นคุณธรรม
    3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียน  เข้าถึงนักเรียนกลุ่มพิเศษ  การรับนักเรียนทุกระดับ  ยกระดับ

    มาตรฐานโรงเรียนให้มีคุณภาพ  และพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ

    1. ด้านอาคารเรียน / อาคารประกอบ  อาคารเรียนแบบ  สปช.  105/26  จำนวน  1  หลัง  อาคารเรียน

    แบบ  สปช.  105/29  จำนวน  1  หลัง  อาคารเรียนแบบ  สปช.  102/26  จำนวน  1  หลัง  โรงฝึกงาน  จำนวน  1  หลัง  บ้านพักครู  จำนวน  2  หลัง  ( ชำรุดทรุดโทรมแล้ว )  ห้องส้วม  ขนาด  4  ห้อง  จำนวน  2  หลัง

    1. ด้านบุคลากรในโรงเรียน  เมื่อปี  พ.ศ.  2556  มีครูผู้สอนจำนวน  13  คน  อัตราจ้าง  จำนวน  2 

    คน  โดยแยกเป็นชาย  5  คน  หญิง  10  คน  และนักการภารโรง  1  คน  รวมทั้งสิ้น  จำนวน  16  คน

    1. ด้านจำนวนนักเรียน  ปีการศึกษา  2556  ตามข้อมูล  10  มิถุนายน  2556  มีนักเรียนทั้งสิ้น 

    จำนวน  173  คน  โดยแยกเป็นชาย  99  คน  หญิง  74  คน

    1. ด้านเขตบริการ
    1.  บ้านเย้ยปราสาท  หมู่ที่  1 , 2  และ  9  ตำบลเย้ยปราสาท  อำเภอหนองกี่  จังหวัดบุรีรัมย์
    2. บ้านหนองกราด  หมู่ที่  5  ตำบลท่าโพธิ์ชัย  อำเภอหนองกี่  จังหวัดบุรีรัมย์
    3. บ้านเสือชะเง้อ  หมู่ที่  5  ตำบลทุ่งกระตาดพัฒนา  อำเภอหนองกี่  จังหวัดบุรีรัมย์
    1. ด้านการจัดการเรียนการสอน  มีการจัดการเรียนการสอนเป็น  4  ช่วงชั้น  ดังนี้
    1.  ชั้นอนุบาลปีที่  1 – 2
    2. ช่วงชั้นที่  1  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1 – 3
    3. ช่วงชั้นที่  2  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 – 6
    4. ช่วงชั้นที่  3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 – 3

    ลักษณะทางภูมิศาสตร์โดยทั่วไป

                    บริเวณที่ตั้งของชุมชนบ้านเย้ยปราสาท  เป็ันที่ราบสูง  มีลักษณะเป็นเนินดินสูงลาดยาวไปตามถนนหนองกี่ – ลำปลายมาศ  ที่ล้อมรอบไปด้วยทรัพยากรป่าไม้  แหล่งน้ำธรรมชาติและพื้นที่การเกษตร  ( ทำนา )

                    ตอนกลางของชุมชน  เป็นที่ตั้งของวัดเย้ยปราสาท  บริเวณทางทิศเหนือมีสระน้ำขนาดใหญ่  กว้าง  100  เมตร  ยาว  200  เมตร  และลึกประมาณ  15 – 20  เมตร  ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภคของชุมชน  บริเวณทิศตะวันตกมีโบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุด  คือ  ปราสาท  สันนิษฐานว่า  อยู่ในยุคเดียวกับปราสาทหินพนมรุ้ง  ทางทิศใต้ของวัด  มีโรงเรียนเป็นจุดศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้และการศึกษา  มีเนื้อที่ประมาณ  12  ไร่  เปิดสอนตั้งแต่ช่วงชั้นอนุบาล – ช่วงชั้นที่  3  ( อนุบาล 1 – ม. 3 )

                    ทางทิศใต้เป็นที่ราบลุ่ม  มีแหล่งน้ำธรรมชาติ  หรือละหานขนาดใหญ่  มีเนื้อที่ประมาณ  2,800  ไร่  ในสมัยโบราณแหล่งน้ำนี้เป็นศูนย์รวมของสัตว์ป่านานาชนิด  สัตว์บกและสัตว์น้ำมากมาย  จาก  “ตำนานโนนศาลา”

                    ลักษณะภูมิศาสตร์ของชุมชนบ้านเย้ยปราสาท  ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงในเขตชุมชน  และเป็นที่ราบลุ่ม  จะล้อมรอบไปด้วยพื้นที่การเกษตร  หรือพื้นที่ทำนา  ทำการปลูกข้าวหอมมะลิ  หากปีใดฝนตกชุกจะเกิดน้ำท่วมขัง  และปีใดฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลก็จะแห้งแล้ง  เพราะไม่มีแหล่งน้ำที่จะกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดปี  อาศัยแหล่งน้ำธรรมชาติก็แห้งเหือดหายไปตามกาลเวลา  เมื่อปี  พ.ศ.  2531 – 2536  แหล่งน้ำธรรมชาติหรือละหานดังกล่าว  ได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งน้ำตามโครงการพระราชดำริในพระบามทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  9  หรือเรียกว่า  สวนหลวง  ร.  9  ซึ่งถือได้ว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของชาวบ้านชุมชนบ้านเย้ยปราสาท  เป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชาวหนองกี่ตลอดมา  และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ

    ทรัพยากรธรรมชาติ

                    ทรัพยากรธรรมชาติชุมชน  หมายถึง  สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในชุมชน  และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของคนในชุมชน  ได้แก่  ทรัพยากรป่าไม้  ทรัพยากรดิน  ทรัพยากรน้ำ  ทรัพยากรแร่ธาตุ  และทรัพยากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    1.  ทรัพยากรดิน  สาวนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย  เพราะเกิดจากซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกันเป็น

    เวลานาน ๆ มีคุณสมบัติอุ้มน้ำไม่ดี  ดินเสื่อมสภาพได้เร็ว  เหมาะในการเพาะปลูกระยะสั้น  ( ทำนา  ทำสวน )  ส่วนใหญ่เกษตรกรนิยมใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีผสมลงไปในดิน  จึงทำให้ดินไม่มีความอุดมสมบูรณ์  ปัจจุบันชาวชุมชนบ้านเย้ยปราสาทได้หันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพมากขึ้น  การใช้ประโยชน์ของทรัพยากรดินในชุมชน  มีดังนี้

    1. ใช้ในการเพาะปลูกหรือเกษตรกรรม  ( ทำนา )  ประมาณร้อยละ  70
    2. ใช้เป็นที่อยู่อาศัย  ประมาณร้อยละ  15
    3. ใช้เป็นที่กักเก็บน้ำหรือแหล่งน้ำ  ประมาณร้อยละ  10
    4. ใช้เป็นสาธารณะประโยชน์อื่น ๆ  ประมาณร้อยละ  5

     

    ด้านวัฒนธรรมทางภาษา 

    ภาษาพูดในชุมชนบ้านเย้ยปราสาท  ส่วนใหญ่จะพูดภาษาท้องถิ่น  ได้แก่  ภาษาส่วย  และภาษาลาว

    1. ภาษาส่วย  หรือภาษากุย  เป็นภาษาท้องถิ่นที่ชุมชนบ้านเย้ยปราสาทใช้พูดสื่อสารกัน  โดยกลุ่ม

    คนที่อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากอำเภอศีรขร  จังหวัดสุรินทร์  และได้แพร่หลายไปสู่ชุมชนใกล้เคียง  ได้แก่  ชุมชนบ้านหนองตาดำ  ชุมชนบ้านขามน้อย  ชุมชนบ้านหนองกราด  ชุมชนบ้านสระขาม  เป็นต้นดังเอกสารที่แนบท้ายนี้ด้วย

    1. ภาษาลาว  หรือลาวศรีสะเกษ  เป็นอีกภาษาหนึ่งที่ชาวชุมชนบ้านเย้ยปราสาทใช้พูดสื่อสารกัน 

    โดยกลุ่มคนที่อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากอำเภอสำโรงทาบ  จังหวัดศรีสะเกษ  ซึ่งดะกระจัดกระจายไปตามท้องที่ต่าง ๆ และอำเภอใกล้เคียง

    ส่วนภาษาอื่น ๆ ได้แก่  ภาษาไทย – โคราช  ภาษาไทย – นางรอง  และภาษาเขมร  จะใช้พูดสื่อสารกัน

    เฉพาะในกลุ่มที่เป็นลูกเขยหรือลูกสะใภ้ในชุมชนเท่านั้น  แต่ในการพูดสื่อสารกันระหว่างครู  นักเรียน  และผู้ปกครอง  จะพูดเป็นภาษาไทยกลาง

    ด้านการประกอบอาชีพ 

                    อาชีพที่สำคัญของประชากรในชุมชนบ้านเย้ยปราสาท  ได้จำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

    1. ด้านเกษตรกรรม  เป็นอาชีพหลักของประชากรในชุมชนบ้านเย้ยปราสาทมาเป็นเวลานาน  ใน

    ปัจจุบันได้เปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ให้พัฒนาขึ้น  เดิมการทำเกษตรกรรมเป็นแบบเพื่อยังชีพ  และใช้แรงานคนเป็นหลัก  เมือเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีบทบาท  ได้มีการนำเครื่องจักมาใช้แทนแรงงานคน  จึงทำให้ผลผลิตด้านการเกษตรดีขึ้นกว่าเดิม  และมีการแปรรูปผลผลิตเป็นสินค้าที่หลากหลาย

    1. การทำนา  ประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ  80  ปลูกข้าวหอมมะลิ
    2. การเลี้ยงสัตว์  ได้แก่  ฟาร์มเลี้ยงไก่พันธ์เนื้อ  สุกร  โค  กระบือ  และแพะ
    3. การปลูกพืชผักสวนครัว  ได้แก่  หัวหอม  กระเทียม  ผักกาดขาว  กะหล่ำปลี  สะระแหน่ 

    ถั่วฝักยาว  แตงกวา  แตงโม  เป็นต้น

    1. การประมง  ส่วนใหญ่จะจับสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ  ได้แก่  หอย  ปู  ปลาและกุ้ง  ไป

    ขายเพื่อหารายได้เสริมให้กับครอบครัว

    1. ด้านอุตสาหกรรม  ในชุมชนบ้านเย้ยปราสาท  มีโรงานอุตสาหกรรมและบริการ  ได้แบ่งออกเป็น  3  ลักษณะ  ดังนี้
      1. อุตสาหกรรมในครัวเรือน  เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก  ที่ผลิตสินค้าไว้ใช้ในครัวเรือน  ได้แก่  

    การทอเสื่อกก  การทอผ้าไหม  เครื่องจักสานประเภทต่าง ๆ เป็นต้น

    1. อุตสาหกรรมขนากลาง  ด้านเกษตรกรรม  ได้แก่  โรงสีข้าว  รถเกี่ยวข้าว  รถสีข้าว  และร้าน

    ซ่อมรถประเภทต่าง ๆ

    1. อุตสาหกรรมขนาดใหญ่  เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ผลิตสินค้าจำหน่ายไปในท้องที่

    ต่าง ๆ  เช่น  โรงงานไม้  โรงงานน้ำแข็งประสงค์ทรัพย์  เป็นต้น


    ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2021-11-14 20:06:13 น.

โรงเรียนวัดเย้ยปราสาท สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โทรศัพท์: 044641726 อีเมล์: prasat54@gmail.com
เว็บมาสเตอร์:: Ⓒ ระบบเว็บไซต์สถานศึกษา  WEB School CMS V.2 [ติดต่อทีมพัฒนา]