โรงเรียนวัดอัมภาราม(เทิ่งอนุสรณ์)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3
 

  • ประวัติ โรงเรียนวัดอัมภาราม(เทิ่งอนุสรณ์)
  • ประวัติโรงเรียนวัดอัมภาราม(เทิ่งอนุสรณ์)

                    ประวัติโรงเรียนวัดอัมภาราม(เทิ่งอนุสรณ์) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 บ้านตาเป๊ก ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ 31110 โทร 044 – 628020 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 บนเนื้อที่ จำนวน 14 ไร่ 1 งาน เดิมชื่อว่า โรงเรียนประชาบานตำบลตาเป๊ก 1 วัดอัมภาราม ตั้งขึ้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2461 โดยความอุปการะของรองอำมาตย์โทณรงค์ รักษาเขต นายอำเภอนางรอง เป็นผู้ดำเนินการก่อตั้ง ใช้ศาลาการเปรียญวัดอัมภารามเป็นสถานที่เรียน ได้แต่งตั้งพระภิกษุ เทิ่ง ขุมาประโคน เจ้าอาวาสวัดอัมภาราม เป็นครูใหญ่คนแรก ดำรงโรงเรียนด้วยเงินศึกษาพลี จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรประถมศึกษา กระทรวงธรรมการ เปิดสอนครั้งแระตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

              1 มกราคม 2480 นายเปรี่ยม ถนิมกาญจน์ และนางเปาะ แก้วมณี ได้ยกที่ดินให้เป็นสมบัติของโรงเรียน และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน ในสมัย นายสุวรรณ ภูละ เป็นครูใหญ่ ได้ขยายชั้นเรียนจากเดิมถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

                    พ.ศ. 2481 อำเภอนางรองได้ให้บ้านพักครูของโรงเรียนกสิกรรมโคกมะตูม มาก่อสร้างที่โรงเรียน จำนวน 1 หลัง เพราะโรงเรียนกสิกรรมโคกมะตูม ทางราชการได้ยุบเลิกกิจการ

                    16 ตุลาคม 2482 พระภิกษุเทิ่ง ขุมาประโคน ครูใหญ่ได้ร่วมมือกับชาวบ้านหาทุนสร้างอาคารเรียนหลังใหม่แบบเอกเทศถาวร แบบ พ. 1 ซ. ของกระทรวงศึกษาธิการ ขนาด 8/456 เมตร 5 ห้องเรียน ใช้เป็นที่เรียนของนักเรียน และใน พ.ศ. 2485 ทางราชการได้ให้งบประมาณสมทบ จำนวน 500 บาท(ห้าร้อยบาทถ้วน)

                    24 มิถุนายน 2501 ทางราชการได้เปิดชั้นเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการพิเศษ ขึ้นเป็นปีแรก มีผู้มาสมัครเรียน 38 คน ส่วนมัธยมศึกษาปีที่ 2- 3 จะเปิดในปีต่อไป โดยใช้อาคารเรียนของประถมศึกษาไปพลางๆก่อน

                    1 กันยายน 2502 ทางราชการได้ให้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนมัธยมแบบ ป.1 ซ. ของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 3 ห้องเรียน ขนาด 8.50 x 27 เมตร จำนวนเงิน 39,000 บาท(สามหมื่นเก้าพันบาทถ้วน) โดยก่อสร้างด้านหลังอาคารเรียนเดิม มี นายณรงค์ พลพิทักษ์ เป็นผู้รับเหมา เสร็จใช้การได้วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2503 ในระยะนี้มีนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทำให้อาคารเรียนไม่เพียงพอ ประกอบกับอาคารเรียนเดิมที่สร้างมานานเริ่มชำรุดทรุดโทรม คณะครูและประชาชนร่วมมือกันจักหาทุนก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ และของบประมาณจากทางราชการมาสมทบในเดือน มีนาคม 2504 ทางโรงเรียนสามารถหาเงินได้ 21,505.50 บาท(สองหมื่นหนึ่งพันห้าร้อยห้าบาทห้าสิบสตางค์) นำมาจัดซื้ออุปกรณ์ในการก่อสร้าง และได้ของบประมาณจากทางราชการได้อีก 96,000 บาท (เก้าหมื่นหกพันบาทถ้วน)

                    3 มิถุนายน 2504 นายเปรม จัตกูล นายเดิม นายอัด ได้บริจาคที่ดินให้กับทางโรงเรียน

                    11 ธันวาคม 2505 ได้ปลูกสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ แบบ 004 ขนาด 8.50 X 67 เมตร 2

    ชั้น 20 ห้องเรียน เป็นแนวเดียวกับอาคารมัธยมศึกษา เสร็จเรียบร้อยในวันที่ 2 ธันวาคม 2506

                    พ.ศ.2506 นายดัด ถนิมกาญจน์ ได้บริจาคที่ดินทางทิศใต้ให้กับโรงเรียน 2 งาน 80

    ตารางวา

                    20 มิถุนายน 2506 ได้สร้างประตูไม้ และต่อมาถูกรถบรรทุกไม้ของโรงเลื่อยจักรอำเภอ

    ละหานทรายชนพังลง ขณะจะนำไม่ไปส่งให้กับ น.พ.ค. 52 บุรีรัมย์

                    1 มิถุนายน 2508 กรมสามัญศึกษากองการศึกษาพิเศษ ได้จักงบประมาณ 15,000 บาท

    (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)สร้างบ้านพักครูให้ 1 หลัง

                    มกราคม 2509 นายจวน เครือบคนโฑ ได้บริจาคเสาธงเหล็ก สูง 17 เมตรราคา 8,200

    บาท(แปดพันสองร้อยบาทถ้วน)

                    1 ตุลาคม 2509 ได้โอนไปสังกัดการบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์

                    17 มกราคม 2511 น.พ.ค. 52 ได้นำรถแทรกเตอร์มาปรับสภาพผิวดินให้ราบเรียบสวยงาม

                    15 ตุลาคม 2513 จังหวัดได้อนุญาตให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากโรงเรียน

    ประชาบาลตำบลตาเป็ก 1 เป็นโรงเรียนวัดอัมภาราม (เทิ่งอนุสรณ์) ตามชื่อของวัดอัมภาราม

                    พ.ศ.2514 ทางจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ประกาศขยายการศึกษาภาคบังคับ ถึงชั้นประถมศึกษา

    ตอนปลาย(ป.7)เต็มพื้นที่จังหวัด

                    15 ธันวาคม 2514 ได้งบประมาณจากกรมอนามัย 6,000 บาท(หกพันบาทถ้วน)

    โรงเรียนได้สมทบบำรุงการศึกษา 5,000 บาท(ห้าพันบาทถ้วน) สร้างประปา 1 แห่ง

                    9 กรกฎาคม 2515 ได้รับการคัดเลือกจากจังหวัดบุรีรัมย์ ให้เป็นโรงเรียนดีเด่นประจำจังหวัด

                    1 มีนาคม 2516 ทางราชการได้แต่งตั้งนายเล็ก นรัฐกิจ ครูใหญ่โรงเรียนนี้ไปดำรง

    ตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนนางรองสังขกฤษณอนุสรณ์ และแต่งตั้งนายเชย ศฤงคารนันท์ มาดำรง

    ตำแหน่งแทนในคราวเดียวกันนายเชย ศฤคารนันท์ ครูใหญ่ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้บริหาร

    โรงเรียนดีเด่นของจังหวัดบุรีรัมย์

                    กรกฎาคม 2516 คณะครูประชาชน และ น.พ.ค. 52 ได้ร่วมกันสร้างประตูเหล็ก พร้อมรั้ว

    เหล็กด้านหน้า 60 มูลค่า 39,000 บาท(สามหมื่นเก้าพันบาทถ้วน)

                    กุมภาพันธ์ 2518 ได้สร้างรั้วเหล็กเพิ่มอีก 12 ช่อง ประตูเหล็กอีก 1 ช่องต่อจากประตูเดิม

                    มิถุนายน 2518 นายจวน เครือบคนโฑและนายแจ้ง เครือบคนโฑ ได้บริจาคที่ดิน 1 ไร่

    ทางทิศเหนือให้เป็นสมบัติของโรงเรียน

                    ธันวาคม 2518 ได้ร่วมมือกันกับชุมชนสร้างห้องสมุด ขนาด 9X20 เมตร ใช้งบประมาณ

    44,514,50(สี่หมื่นสี่พันห้าร้อยสิบสี่บาทสิบห้าสตางค์)โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของทาง

    ราชการแต่อย่าใด

     

                    12 มิถุนายน 2519 เวลาประมาณ 05.00 น. ได้เกิดไฟไหม้อาคารเรียนแบบ 004 หมดทั้ง

    หลังพร้อมเอกสารสำคัญของทางราชการ รวมมูลค่าทั้งสิ้น 1,185,961บาท(หนึ่งล้าน

    หนึ่งแลนแปดหมื่นห้าพันเก้าร้อยหกสิบเอ็ดบาทถ้วน)นักเรียนต้องอาศัยศาลาวัด ใต้ถุนกุฏิ โรงจอดร

    รถ และอาคารเรียนชั่วคราวที่ชุมชนมาร่วมกันสร้างให้เป็นที่เรียนชั่วคราว ต่อมา

    ทางราชการไดให้งบพิเศษจำนวน 144,220 บาท(หนึ่งแสนสี่หมี่นสี่พันสองร้อยยี่สิบบาทถ้วน)มา

    ให้สร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง ขนาด 8.50X80 เมตร

                    พ.ศ.2519 ทางราชการได้ให้งบประมาณ 360,000 บาท(สามแลนหกหมื่นบาทถ้วน)สร้าง

    อาคารเรียน แบบ 004 จำนวน 1 หลัง 2 ชั้น 6 ห้องเรียน และไดให้งบประมาณอีก 1,220,000 บาท

    (หนึ่งล้านสองแสนสองหมื่นบาทถ้วน)เพื่อสร้างอาคารเรียนแบบ 005 จำนวน 1 หลัง 2 ชั้น 20

    ห้องเรียน เสร็จสิ้น 21 มกราคม 2523

                    พ.ศ.2520 ทางราชการได้ให้งบประมาณ123,000 บาท(หนึ่งแสนสองหมื่นสามพันบาท

    ถ้วน)เพื่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ 312 จำนวน 1 หลัง ขนาด 7X15 เมตร

                    พ.ศ.2521 ได้รับงบบริจาค 1,800 บาท(หนึ่งพันแปดร้อยบาทถ้วน)

    สร้างถังเก็บน้ำ ความจุ 30 ลบม.

     กรกฎาคม 2521 ได้รับงบจากทางราชการจำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)สร้าง

    ห้องสุข 1 หลัง 3 ที่

                    12 สิงหาคม 2522 นายสมพร โรจนบัณฑิต ได้มอบที่ดิน 100 ตารางวา มูลค่า 10,000

    บาท(หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)ให้กับโรงเรียน

                    ธันวาคม 2522 กรมทรัพยากรธรณี ได้เจาะบ่อบาดาลให้กับทางโรงเรียน พร้อมติดตั้ง                     เครื่องสูบโยก จำนวน 1 บ่อ

                    1 มกราคม 2523 นายพจน์ วงศรีชนาลัย มอบเงินให้กับโรงเรียน2,500 บาท(สองพันห้า

    ร้อยบาทถ้วน)เพื่อสร้างสนามบาสเก็ตบอล

                    23 มีนาคม 2523 นายพจน์ วงศรีชนาลัย มอบเงินให้กับโรงเรียน 10,000 บาท(หนึ่งหมื่น

    บาทถ้วน) เพื่อทาสีอาคารเรียน

                    30 มีนาคม 2523 ผู้ใหญ่บ้านและประชาชนในเขตบริการของโรงเรียนได้จัดหา

    งบประมาณ จำนวน 23,541 บาท(สองหมื่นสามพันห้าร้อยสี่สิบเอ็ดบาทถ้วน) เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์

    ไฟฟ้าและติดตั้งในอาคารเรียน

                   15 เมษายน 2523 คณะครู ผู้ใหญ่บ้านและประชาชนในเขตบริการของโรงเรียนได้

    ร่วมกันเปิดป้ายอาคารเรียนหลังใหม่ และมีผู้บริจาคพัสดุ ดังนี้

                    พระครูอรุณ มอบแก้วน้ำ 60 ใบ

                    นายพจน์ วงศรีชนาลัย บริจาคตู้กระจก 1 หลังราคา 1,250 บาท

                    นายแฉล้ม เครือบคนโฑ บริจาคตู้กระจก 1 หลังราคา 250 บาท

                    นักเรียน ป.6 รุ่นปี 2523 มอบตู้ 1 หลังราคา 250 บาท

                    นางสายทอง มะลิดม มอบพัดลมติดเพดาน 1 ตัว ราคา 600 บาท

                    นางมาลัย โค่นถอน มอบเตียงพยาบาล 1 หลัง ราคา 250 บาท

                    นายหวั่น เครือบคนโฑ มอบพัดลมติดเพดาน 1 ตัว ราคา 600 บาท

                    นายเจริญ ไชยมงคล มอบนาฬิกาแขวน 1 เรือน ราคา 800 บาท

                    นายปรีดีย์  พิมพ์เพราะ มอบพระบรมสาธิตลักษณ์ 1 ชุด ราคา 450 บาท

    ส.อ.เยร เรืองประโคน มอบนาฬิกาแขวน 1 เรือน ราคา 400 บาท

                    ต่อมาได้สร้างอาคารเรียนเป็นเอกเทศถาวรจำนวน 1 หลัง 5 ห้องเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2428

    บนเนื้อที่ที่เป็นที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน ซึ่งมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินให้เป็นที่ตั้ง ตั้งแต่เริ่มต้น

    จนถึงปัจจุบัน

                    วันที่ 24 มิถุนายน 2501 ได้เปิดชั้นเรียนมัธยมศึกษาปีที่1 และ ได้ขยายถึงชั้นมัธยมศึกษา

    ปีที่ 2 และ 3 ในปีต่อมาตามลำดับ

                    วันที่ 1 ตุลาคม 2509 ได้โอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์

                    วันที่ 15 ตุลาคม 2513 เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนอัมภาม(เทิ่งอนุสรณ์)

                    ปี พ.ศ.2514 ทางจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ประกาศขยายการศึกษาภาคบังคับถึงชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

    ป (  1- 7 ) เต็มพื้นที่จังหวัด

                 วันที่ 9 กรกฎาคม 2515 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนดีเด่นระดับจังหวัด

                    วันที่ 12 มิถุนายน 2519 เวลาประมาณ 05.00 น. ได้เกิดไฟไหม้อาคารเรียนหมดทั้งหลัง

    เอกสารสำคัญของทางราชการถูกไฟไหม้หมด รวมมูลค่าทั้งสิ้น 1,185,961 บาท

    นักเรียนไม่มีที่เรียนต้องอาศัยศาลาวัดอัมภาราม อาคารอเนกประสงค์ และอาคารเรียนชั่วคราว เป็น

    การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน และได้รับงบประมาณสร้างอาคานเรียน แบบ 004 หลัง 2 ชั้น 6 

    ห้องเรียน ในปี พ.ศ. 2519 และได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนเพื่อทดแทนที่ถูกเพลิงไหม้ แบบ

    005 จำนวน 1 หลัง

                    วันที่ 14 พฤษภาคม 2551 นายทรงศักดิ์ แก้วจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกมะค่า

    อ.นางรอง ได้เดินทางมารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดอัมภาราม(เทิ่งอนุสรณ์)จนถึงปัจจุบัน

                    ทิศเหนือ                ติดต่อกับ    ทุ่งนา

                    ทิศใต้                      ติดต่อกับ    ทุ่งนา

                    ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ     วัดอัมภาราม

                    ทิศตะวันตก       ติดต่อกับ     ทุ่งนา

     


    ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2021-11-10 23:56:03 น.

โรงเรียนวัดอัมภาราม(เทิ่งอนุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โทรศัพท์: 044628020 อีเมล์: amparam.brm3@gmail.com
เว็บมาสเตอร์:: Ⓒ ระบบเว็บไซต์สถานศึกษา  WEB School CMS V.2 [ติดต่อทีมพัฒนา]