|
|
-
ประวัติ โรงเรียนบ้านหนองหอย
-
ประวัติโรงเรียนบ้านหนองหอย
โรงเรียนบ้านหนองหอย ตั้งอยู่หมู่ที่ 14 บ้านห้วยคู่ ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2512 โดยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านให้ใช้ศาลาวัดเป็นสถานที่จัดการศึกษา โดยมี ร.ต.ไมตรี ไมยกุล นายอำเภอ และนายสุวรรณ ผานิบุศย์ ศึกษาธิการอำเภอในขณะนั้น มาเป็นประธานในพิธีทำการเปิดการเรียนการสอน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 มีนักเรียนถูกเกณฑ์เข้าเรียนตามกลุ่มอายุทั้งหมด 127 คน โดยทางราชการได้แต่งตั้งให้ นายหิง สุวรรณไตร มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ และบรรจุครูผู้สอนมาเพิ่มอีก 1 คน รวมเป็น 2 คน ต่อมาในเดือนกันยายน ในปีเดียวกันได้รับบริจาคที่ดินจากผู้ปกครองที่มองเห็นความสำคัญของการศึกษาเป็นเนื้อที่ทั้งหมด 9 ไร่ 1 งาน 36 ตาราวา และในขณะเดียวกันได้รับงบประมาณสิ่งก่อสร้างจากทางราชการ เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ซ.4 จำนวน 1 หลังขึ้น โดยย้ายจากศาลาวัดมาดำเนินการ ณ สถานที่ปัจจุบัน โดยทางราชการได้แต่งตั้งให้ นายหิง สุวรรณไตร เป็นครูใหญ่ต่อไป ในขณะนั้นมีครูประจำการ 2 คน ผู้ช่วยครู 2 คน รวมเป็น 4 คน ต่อมาทางราชการได้บรรจุมาเพิ่มอีก 1 คน
ต่อมาทางราชการได้ย้ายนายหิง สุวรรณไตร ไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านน้ำโล้
กลุ่มโรงเรียนชุมชนบ้านชุมช้าง สปอ.โพนพิสัย และได้แต่งตั้งให้ นายเพชร พรเพ็ง จากโรงเรียนบ้านน้ำโล้ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน ในขณะนั้นมีครูประจำการ 7 คน และผู้ช่วยครู 2 คน
ในช่วงนั้นโรงเรียนยังเป็นโรงเรียนประชาบาล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย กระทรวงมหาดไทย และในปี พ.ศ. 2521 รัฐบาลได้เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรประถมศึกษา 2513 เป็นหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 และได้ขยายการศึกษาภาคบังคับจาก 4 ปี เป็น 6 ปี
ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 รัฐบาลได้โอนโรงเรียนประชาบาล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กระทรวงมหาดไทยไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ใน พ.ศ. 2528 โรงเรียนได้ทำการปรับปรุงกำหนดตำแหน่งผู้บริหารให้สูงขึ้นจากครูใหญ่ เป็นอาจารย์ใหญ่ ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน นายเพชร พรเพ็ง ได้ถูกย้ายให้ไปดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ที่โรงเรียนบ้านก่องขันธ์ กลุ่มโรงเรียนเดียวกัน โดยสับเปลี่ยนกับ นายภูเวียง ไขแสงจันทร์ มาดำรงตำแหน่งในโรงเรียนนี้แทน จนกระทั่ง พ.ศ. 2529 จึงได้เกษียณอายุราชการลง จึงทำให้ตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนว่างลง ทางราชการจึงได้แต่งตั้ง นายวิทยา ผาจวง จากอำเภอโซ่พิสัยมาดำรงตำแหน่งแทน และได้บรรจุลูกจ้างประจำในปีเดียวกัน
ในปี พ.ศ. 2529 ทางราชการได้อนุมัติให้เปิดชั้นอนุบาล 1,2 เพิ่มอีก 2 ห้องเรียน โรงเรียนนี้เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีครูทำการสอนทั้งหมด 8 คน
ต่อมีในปี พ.ศ. 2531 วันที่ 1 กรกฎาคม 2531 ทางราชการได้ย้าย นายวิทยา ผาจวง ไปดำรงตำแหน่งที่อื่นและแต่งตั้งนายวชิรพล ชลประทาน จากอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย มาดำรงตำแหน่งแทนในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน และทางโรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณต่อเติมอาคารชั้นล่าง อาคารเรียนแบบ ป.1 ฉ. จำนวน 3 ห้องเรียน งบประมาณ 150,000 บาท
ในเดือนพฤษภาคม 2542 นายวชิรพล ชลประทาน ได้เสียชีวิตทำให้ตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนว่างลง ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2542
ต่อมาในวันที่ 10 ตุลาคม 2542 สปจ .หนองคาย ได้บรรจุแต่งตั้งให้นายวีระ พินานิช มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนแทนตำแหน่งที่ว่าง ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 สปจ.หนองคาย
ได้บรรจุครูผู้สอนเพิ่มอีก 1 ราย คือ นายนิกร สันประเภท ในตำแหน่งเลขที่ 4193 ระดับ 3 ขั้น 6,360 บาท
ต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 นายชาญชัย ไชยคำภา ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านดงสะพัง กลุ่มเดียวกัน ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งแทน อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านหนองหอย ซึ่งขณะนั้นมีข้าราชการครู 10 คน นักการภารโรง 1 นักเรียน จำนวน 232 คน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 นายชาญชัย ไชยคำภา ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
ที่โรงเรียนหมู่บ้านตัวอย่าง กลุ่มจุมพล อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
ต่อมาในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 จังหวัดหนองคาย ได้แต่งตั้งให้นายธวัชชัย หอมยามเย็น มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองหอย และได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองหอย เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งมีข้าราชการครู จำนวน 9 ราย พนักงานบริการ 1 ราย จำนวนนักเรียน 205 คน
วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551 นายธวัชชัย หอมยามเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองหอย ได้รับคำสั่งแต่งตั้ง(ย้าย)ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองยาง อำเภอเฝ้าไร่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 และแต่งตั้ง นายนิรวัตร เวชสิทธิ์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองหอยแทน
ปัจจุบัน โรงเรียนบ้านหนองหอยเปิดทำการสอน 2 ระดับ คือ ระดับปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สอนตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีนักเรียนทั้งสิ้น 167 คน ครู 8 คน ได้พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่นโดยให้ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนร่วม รวมทั้งพัฒนาการเรียนการสอนตามแนวทางปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2022-05-31 14:20:26 น.
|
|